แอดมินพึ่งจะได้อ่านหนังสือ
เรื่อง Republic ของเพลโตค่ะ
…………………
แต่อย่าพึ่งถามนะคะ
ว่าเรื่องราวในหนังสือ เป็นอย่างไรบ้าง
พึ่งอ่านถึงคำนำเองค่า ><
…………………
แต่ในตรงจุดคำนำนี้ มีข้อความหนึ่ง
ที่ผู้แปลหนังสือเล่มนี้ได้เขียนไว้
ซึ่งแอดมินอ่านแล้วรู้สึกเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง
เป็นหลักการทำให้ปรัชญานั้นกินได้
…………………
เขาบอกว่า
“หลักการที่ผมพยายามยึดให้มั่นไว้เสมอ
ในการแปลบทความทางปรัชญา
ก็คือ คำศัพท์ที่ใช้ควรต้องยึดโยง
กับชีวิตประจำวันของเราให้ได้
ปรัชญาต้องเดินเคียงข้างชีวิตประจำวัน
มิเช่นนั้น มันก็จะเป็นแค่ “โลกต่างดาว”
เต็มไปด้วยศัพท์แสงงี่เง่ามากมาย
ที่มีเพียงคนกลุ่มเล็กๆ เข้าใจ
แยกขาดจากโลกความเป็นจริง
และสุดท้าย คนก็จะเลิกสนใจปรัชญา
พวกเขาจะสลัดมันทิ้งทันที
ที่สังคมเกิดปัญหา
ด้วยเห็นว่าเป็นเพียงของเล่น
ของชั้นปัญญาชนเท่านั้น”
…………………
เพื่อนมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างค่ะ
…………………
สำหรับแอดมินแล้วการเขียนบทความ
เกี่ยวกับปรัชญาต้องให้คนที่
ไม่มีความรู้ทางปรัชญา
อ่านเข้าใจด้วย
เป็นสิ่งสำคัญที่สุดค่ะ
…………………
แอดมินไม่ค่อยชอบเลย
ที่คนในวงการปรัชญา
ชอบพูดว่า
“ปรัชญามันต้องเรียนไม่รู้เรื่อง
ถ้ารู้เรื่องก็ไม่ใช่ปรัชญา”
เพราะถ้ายังคงคิดกันแบบนี้
วงการปรัชญาตายแน่ๆ ค่ะ
…………………
เพื่อนๆ ช่วยกันทำให้ปรัชญา
กลับมากินได้กันอีกครั้งนะคะ
ปรัชญาจะได้มีคุณค่าต่อสังคมเสมอ
…………………
ที่มา บทคำนำในหนังสือ Republic ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2
แปลโดย เวธัส โพธารามิก
โพสต์โดย แอดมิน ลูน่า