ความรักความเมตตา
ไม่มีค่าในทางจริยธรรม
จริยศาสตร์ที่ไร้หัวใจ
ของ อิมมานูเอล คานท์
…………….
เขามองว่าหากศีลธรรม
วางอยู่บนฐานของความรู้สึก
ความชัดเจนหรือความแน่นอนจะอยู่ตรงไหน
…………….
หากคุณพบคนบาดเจ็บและมีเลือดออก
คุณเข้าไปช่วยเหลือ ทำให้เขารู้สึกปลอดภัย
นี่เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างไม่ต้องสงสัย
…………….
แต่หากคุณช่วยเขา
แค่เพราะคุณรู้สึกสงสาร
ตามความเห็นของคานท์
นั่นไม่ถือเป็นการกระทำ
ที่มีศีลธรรมเลยแม้แต่น้อย
…………….
คนที่ทำสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ได้เพียงทำมันไป
ตามความรู้สึกของพวกเขา
แต่การตัดสินใจ ต้องตั้งอยู่บนหลักของเหตุผล
เป็นเหตุผลที่บอกคุณว่า
หน้าที่ของคุณคืออะไร
โดยไม่คำนึงว่าคุณรู้สึกถึงมันอย่างไร
…………….
การกระทำตามหน้าที่
จะต้องไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดตามมา
ไม่ว่าผลนั้น จะให้ผลดีหรือผลร้ายก็ตาม
…………….
แพทย์มีหน้าที่ต้องช่วยคนไข้
แต่สงสารคนไข้ ทำการฆ่าคนไข้
เพื่อให้คนไข้พ้นจากความทรมาน
ถือว่าแพทย์ผิดที่ไม่ทำหน้าที่ตนเองให้ถูกต้อง
…………….
ในทางกลับกัน
เพชฌฆาตมีหน้าที่ ฆ่านักโทษประหาร
แต่กลับฆ่าไม่ลง เพราะสงสารนักโทษ
เนื่องจากนักโทษ
มีพ่อแม่แก่ชราที่จะต้องคอยเลี้ยงดู
มีเมียที่ป่วยเป็นอัมพาต
ถ้าเพชฌฆาตไม่ยอมประหารชีวิตนักโทษ
ค้านท์ถือว่า เป็นความผิด
…………….
ยังมีตัวอย่างสุดขั้วของแนวคิดนี้
ที่ชือว่า “Kant’s Axe”
เรื่องมีอยู่ว่า มีเสียงเคาะประตูที่บ้านคุณ
เป็นเพื่อนซี้ของคุณ แลดูวิตกกังวล
เธอบอกคุณว่ามีคนกำลังไล่ฆ่าเธอ
และเขามีมีดด้วย
…………….
คุณให้เธอเข้ามา และเธอวิ่งไปชั้นบนเพื่อซ่อนตัว
ต่อมามีเสียงเคาะประตูดังขึ้นอีกครั้ง
ซึ่งก็คือว่าที่ฆาตกร ผู้มีแววตาบ้างคลั่ง
ซึ่งเขาอยากรู้ว่าเพื่อนของคุณอยู่ที่ไหน
เธออยู่ในบ้านหรือเปล่า
อันที่จริง เธออยู่ชั้นบน
แต่คุณโกหกไปว่า เธอวิ่งเข้าไปในสวน
แน่นอนคุณได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง
คุณได้ช่วยชีวิตเพื่อนของคุณ
ต้องเป็นการกระทำที่มีศีลธรรมแน่
ใช่ไหมค่ะ
…………….
แต่มันไม่ใช่สำหรับคานท์ !!
คานท์คิดว่าคุณไม่ควรโกหกเป็นอันขาด
ไม่ว่าจะในสถานการณ์ใดก็ตาม
แม้กระทั้งเพื่อปกป้องเพื่อนของคุณ
จากฆาตกร ถือเป็นสิ่งที่ผิดทางศีลธรรมเสมอ
ด้วยเหตุผลที่ว่าคุณไม่สามารถ
ทำให้การโกหกเป็นสิ่งที่เหมาะสม
ในทุกสถานการณ์ได้
…………….
เพราะในกรณีที่คุณโกหก
แล้วบังเอิญเพื่อนของคุณ
วิ่งหนีต่อเข้าไปในสวน
โดยที่คุณไม่รู้ตัว
คุณจะมีความผิด ฐานช่วยเหลือฆาตกร
มันจะเป็นความผิดของคุณส่วนหนึ่ง
หากเพื่อนของคุณตาย
…………….
จริยธรรมของค้านท์
จึงเป็นจริยธรรม ที่มีคำสั่งเด็ดขาด
(Categorical Imperative)
…………….
แม้แนวคิดของค้านจะดูไร้หัวใจ
แต่ก็ทำให้เรามี
“ความกล้าหาญทางจริยธรรม”
(moral courage)
…………….
ที่ยอมเจ็บปวดเพื่อยืนยันความถูกต้อง
เพื่อให้ศีลธรรมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
สำหรับคนที่มีเหตุผลทุกคน
บนความเสมอภาค
…………….
ปล. เพื่อนๆ มีความคิดเห็น ต่อแนวคิดนี้อย่างไรบ้างค่ะ
ปล. การเรียบเรียงนี้เพื่อสรุปให้เพื่อนๆ
เข้าใจ concept แนวคิดของค้านเท่านั้น
ถ้าต้องการเข้าใจเชิงลึกเพื่อนๆ
ต้องอ่านหนังสือเพิ่มเติมนะคะ
…………….
แอดมินมีหนังสือ
“รากฐานแห่งอภิปรัชญาของศีลธรรม”
Groundwork for a Metaphysics of Morals
ของค้าน มาฝากด้วยจ้า
ดาวน์โหลดได้เลยที่นี่
https://philosophychicchic.com/groundwork-kant-book/
…………….
เนื้อหาส่วนหนึ่งคัดลอกมาจาก
A Little History of Philosophy
(ประวัติศาสตร์ปรัชญา ฉบับ กะทัดรัด)
Nigel Warbuton เขียน, ปราบดา หยุ่น และรติพร แปล.
…………….
โพสโดย แอดมิน ลูน่า