ทำไมคานท์จึงเป็นบิดาแห่งองค์การสหประชาชาติ ?
……………….
แม้ว่าการคิดถึงความถูก-ผิด
บนฐานของการใช้เหตุผล โดยไม่ใช้อารมณ์
ของคานท์จะดูเป็นแนวคิดทีสุดโต่ง
แต่เหตุผลเบื้องหลังของแนวคิดนี้
คือ ความต้องการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในโลกนี้
………………
สงครามต่างๆ ล้วนเกิดจากการยึดถือ
ในความดีตามที่ตนเองคิดเห็น
เมื่อไม่มีความดีที่เป็นสากล
จึงทำให้เกิดความวุ่นวาย
การตัดสินศีลธรรมกันโดยไม่ฟังเสียงใคร
ทำให้คนทะเลาะกัน
และนำไปสู่ความรุนแรงที่เกินจะควบคุม
………………
คานท์เป็นผู้สนับสนุนให้มีการจัดตั้ง
“สันนิบาตแห่งชาติ”
ผ่านความเรียงเรื่อง “สันติภาพนิรันดร์”
จากนั้น อีก 125 ปี
หลังจากความเรียงเรื่องนี้ถูกเขียนขึ้น
คือ ค.ศ. 1795 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1
จึงมีการก่อตั้งสันนิบาตแห่งชาติขึ้น
พอหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
สันนิบาตแห่งชาติถูกแทนที่ด้วยองค์การสหประชาชาติ
………………
“จริยธรรมที่เด็ดขาด”
จะเป็นตัวชี้นำให้ประเทศต่างๆ
ละจากสภาวะธรรมชาติที่ป่าเถื่อน
ซึ่งเป็นที่มาของสงคราม
และร่วมทำสัญญาสันติภาพระหว่างกัน
แม้เส้นทางสู่การก่อตั้ง
สันนิบาตแห่งชาติจะยากลำบาก
แต่ก็เป็นหน้าที่ของเราที่จะสร้าง
“สันติภาพซึ่งเป็นสากลและเป็นนิรันดร์”
………………
เราจึงอาจพูดได้ว่า
“คานท์เป็นบิดาของความคิดเรื่ององค์การสหประชาชาติ”
เรียบเรียงมาจาก : หนังสือโลกของโซฟี
………………
ใครจะว่าอย่างไรก็ตาม
แต่แอดมินก็ประทับใจในอุดมการณ์นี้
ของคานท์มากค่ะ
………………
ปล. หวังว่าเพื่อนๆ คงจะชอบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
ในประวัติศาสตร์ปรัชญาพวกนี้นะคะ
ขอให้เพื่อนๆ สนุกกับการเรียนปรัชญาค่ะ
โพสต์โดย แอดมิน ลูน่า